Haven't You Forgotten 
Something?

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Pellentesque eget tincidunt quam. Phasellus ultricies ultrices bibendum.

Aenean vitae porta nisl, nec feugiat neque. Maecenas luctus magna eu elit dapibus, a porttitor lacus euismod.

[products limit="2" columns="2" on_sale="true"]

กินไฟเบอร์ แล้ว ถ่าย เหม็น เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า?

กินไฟเบอร์ แล้ว ถ่าย เหม็น เป็นปัญหาที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่และอาจกำลังสงสัยว่า การรับประทานไฟเบอร์นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นนี้หรือไม่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ที่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมชนิดไฟเบอร์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีปัญหากับการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ถ่ายยาก ท้องเสีย เป็นต้น นั่นจึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้บริโภคจะสงสัยว่า ปัญหาอุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติจะเป็นผลมาจากการกินไฟเบอร์เสริมหรือไม่ ในบทความนี้ Charmace มีคำตอบมาฝากค่ะ

กินไฟเบอร์ แล้ว ถ่าย เหม็น เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า?

กินไฟเบอร์ แล้ว ถ่าย เหม็น เกิดจากอะไร เป็นผลข้างเคียงมาจากการกินไฟเบอร์หรือไม่?

ปัญหาเรื่องการขับถ่ายไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายอย่างมะเร็งลำไส้ หากละเลยไม่ใส่ใจก็อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

“ถ่ายเหม็น” เกิดจากอะไร เป็นผลมาจากการทานไฟเบอร์หรือเปล่า?

โดยทั่วไปแล้ว การทานอาหารเสริมอย่าง “ไฟเบอร์” นั้น ไม่มีผลข้างเคียงที่ส่งผลให้อุจจาระมีกลิ่นเหม็น ดังนั้น จึงอาจพิจารณาได้ว่าการที่ผู้บริโภคหลาย ๆ ท่านรับประทานไฟเบอร์ไปแล้ว แต่ดันถ่ายออกมาแล้วมีกลิ่นเหม็นผิดปกติก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปัญหาการขับถ่าย ของผู้บริโภคเองก็ได้ เช่น ปัญหาท้องผูก เป็นต้น

สำหรับภาวะท้องผูกทางการแพทย์นั้น หมายถึง ภาวะที่ขับถ่ายยาก อาจต้องใช้เวลาเบ่งถ่ายเป็นเวลานาน จำนวนการขับถ่ายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การขับถ่ายแต่ละครั้งได้ไม่มาก มีลักษณะเป็นเม็ดแข็ง รู้สึกอึดอัดแน่นท้องเหมือนถ่ายไม่สุด

ทั้งนี้ หากมีอาการท้องผูกนานกว่า 3 เดือน หรือพบว่ามีอาการท้องผูกร่วมกับอาการเตือนอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลด ถ่ายเป็นเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา เนื่องจากถึงแม้ภาวะท้องผูกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเริ่มมีอาการท้องผูกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี

นอกจากภาวะท้องผูกแล้ว ปัญหาการขับถ่ายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย หรือแม้แต่คนที่สุขภาพดีก็ตาม คือ ภาวะอุจจาระตกค้าง

ทำความรู้จักภาวะอุจจาระตกค้าง

อุจจาระตกค้าง เป็นภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระออกไม่หมดทำให้มีการตกค้างอยู่ภายในลำไส้ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอุจจาระเกาะติดแน่น เมื่อมีอุจจาระใหม่ก็จะไม่สามารถขับอุจจาระเก่าออกไปได้ กลายเป็นอุจจาระที่แข็งติดแน่นสะสมไม่สามารถออกไปจากลำไส้ได้ ส่งผลให้มีอาการท้องผูกรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นท้อง รู้สึกมีลมจำนวนมาก

สาเหตุของภาวะอุจจาระตกค้าง

ภาวะอุจจาระตกค้าง สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพดีหรืออุจจาระทุกวัน โดยมีสาเหตุ ดังนี้

  • การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี เช่น การเบ่งถ่ายขณะหายใจเข้าแล้วแขม่วท้อง
  • การกลั้นอุจจาระ ผู้ป่วยอาจปวดอุจจาระในระหว่างการเดินทาง ระหว่างการประชุม หรือสถานการณ์ต่าง ๆ จนต้องกลั้นอุจจาระไว้ไม่สามารถเข้าห้องน้ำขณะรู้สึกปวดได้
  • ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เคลื่อนไหวน้อย
  • รับประทานอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อแดง หรืออาหารที่ย่อยยาก ไม่มีกากใย รวมถึงอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดแน่นท้อง
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบ่อย จนลำไส้เป็นพังผืด มีซอกหลืบให้อุจจาระไปตกค้าง

อาการของภาวะอุจจาระตกค้าง

หากอุจจาระตกค้างจำนวนมากและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากมาย ดังนี้

  • ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระอย่างมาก
  • อุจจาระมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติเนื่องจากมีตกค้างในลำไส้มาเป็นเวลานาน
  • รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด หรืออุจจาระไม่หมดท้อง
  • มีเลือดปนอุจจาระ
  • ปัสสาวะบ่อยจากการที่กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ
  • ปวดหลังส่วนล่าง

การป้องกันภาวะอุจจาระตกค้าง

การป้องกันภาวะอุจจาระตกค้าง สามารถป้องกันได้หลายวิธี เช่น

  • ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน ประมาณ 5-7 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด
  • ฝึกเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี โดยนั่งบนโถชักโครกแล้วโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย กรณีที่เท้าเหยียบไม่ถึงพื้นหรือเป็นเด็ก ควรมีที่วางเท้า เพื่อออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น
  • สำหรับคนที่ขับถ่ายยาก วิธีถ่ายให้หมดท้อง อาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างขณะขับถ่ายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
  • ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ
  • ดื่มน้ำให้พอเพียง
  • ไม่กลั้นอุจจาระเด็ดขาด ควรขับถ่ายทันทีที่ปวด
  • หากยังไม่ปวดอุจจาระแต่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ไม่ควรพยายามเบ่งขณะที่ยังไม่ปวด เนื่องจากการเบ่งอุจจาระแรง ๆ เป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ หากทำบ่อย ๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพอง เกิดริดสีดวงทวารได้

อาหารเสริมไฟเบอร์คืออะไร

ไฟเบอร์ หรือ ใยอาหาร เป็นอีกชื่อหนึ่งของเซลลูโลส สามารถพบได้ในผัก ผลไม้ และธัญพืช เมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้ ร่างกายของคนเราจะไม่สามารถย่อยสลายเองได้ รวมถึงไฟเบอร์จะไม่ถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร (ยกเว้นในลำไส้ใหญ่) และไม่ให้พลังงาน อย่างไรก็ตามไฟเบอร์เป็นสารอาหารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในด้านระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายคล่อง แก้อาการขับถ่ายยากหรือท้องผูก ดังนั้นคนเราจึงควรรับประทานไฟเบอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเป็นประจำทุกวัน โดยอาหารเสริมไฟเบอร์คือ ใยอาหารเทียมที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับไฟเบอร์ตามธรรมชาติได้มากพอ จึงจำเป็นต้องทานไฟเบอร์แบบเสริมเพิ่มด้วยนั่นเอง

ไฟเบอร์ช่วยเรื่องอะไรบ้าง

  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ ทำให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น บรรเทาอาการท้องผูกขับถ่ายยาก
  • ช่วยดีท็อกซ์ลำไส้ กำจัดของเสียที่คั่งค้าง และเป็นเหมือนตัวช่วยทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลรวมถึงไขมันเร็วเกินไป ลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะถ่ายอุจจาระได้ง่ายและไม่มีของเสียในร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพราะบริเวณลำไส้มีจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก และระบบภูมิคุ้มกันกว่า 70% อยู่ที่ลำไส้
  • ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานมากขึ้นเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่งเพราะขับถ่ายเป็นปกติไม่มีของเสียในร่างกาย

ควรกินไฟเบอร์ตอนไหนให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ไฟเบอร์สามารถรับประทานได้ทุกช่วงเวลา โดยปริมาณที่แนะนำควรกินไฟเบอร์ที่ 25-38 กรัมต่อวัน และดื่มน้ำควบคู่ไปกับการกินไฟเบอร์เพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น หากต้องการรับประทานไฟเบอร์เพื่อกระตุ้นการขับถ่าย ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ช่วงก่อนนอน เพราะไฟเบอร์จะกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ปรับสมดุลระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยเวลาประมาณ 05.00-07.00 น. จะเป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่เริ่มขับกากอาหารออกจากร่างกาย

ทราบกันแล้วว่าไฟเบอร์หรือใยอาหารคืออะไร ช่วยเรื่องอะไรอย่างไรบ้าง โดยช่วยทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ลดอาการท้องผูก ขับถ่ายยาก และมีประโยชน์อีกมากมาย รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และธัญพืช ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เป็นประจำทุกวัน หรือเลือกรับประทานอาหารเสริมไฟเบอร์เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารสำคัญอย่างเพียงพอ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มาดูกัน! เทรนด์อาหารเสริม แบบเครื่องดื่ม ปี 2023 มีอะไรที่น่าจับตา

เทคนิคเพิ่มยอดขาย อาหารเสริมคอลลาเจน ธุรกิจรุ่งพุ่งแรง !!

Charmace สร้างแบรนด์อาหารเสริม ที่ปรึกษา พร้อมรับผลิต จบในที่เดียว