Haven't You Forgotten 
Something?

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Pellentesque eget tincidunt quam. Phasellus ultricies ultrices bibendum.

Aenean vitae porta nisl, nec feugiat neque. Maecenas luctus magna eu elit dapibus, a porttitor lacus euismod.

[products limit="2" columns="2" on_sale="true"]

เทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ 5 วิธีตั้งชื่อแบรนด์และสินค้า ให้ผ่าน อย. แบบฉลุย

เทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ เจ้าของแบรนด์หลาย ๆ ท่านคงสงสัยว่าทำไมแค่การตั้งชื่อแบรนด์จึงสำคัญนัก เพราะตั้งแบบไหนก็คงจะเหมือนกันเพียงแค่ไม่ตั้งซ้ำกับแบรนด์คู่แข่งก็พอแล้ว แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยค่ะ เพราะนอกจากชื่อจะถูกใจเจ้าของแบรนด์แล้วต้องถูกต้องตามหลักของ อย. ด้วยนั่นเอง เนื่องจากมีหลาย ๆ กรณีในอดีตที่ผู้บริโภคมักจะซื้อและหลงเชื่อสรรพคุณจากชื่อของแบรนด์ต่าง ๆ ที่กล่าวอ้างขึ้นมานั่นเอง เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เจ้าของแบรนด์จึงต้องทราบถึงข้อกำหนดของการตั้งชื่อแบรนด์ตนเองจากบทความนี้ค่ะ

เทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ 5 วิธีตั้งชื่อแบรนด์และสินค้า ให้ผ่าน อย. แบบฉลุย

เทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ ตั้งยังไงให้ ผ่าน อย. ง่าย ๆ ถูกใจเจ้าของแบรนด์ ติดหูผู้บริโภค?

ในการตั้งชื่อแบรนด์ หรือชื่อผลิตภัณฑ์ใด ๆ นั้น เราจะเน้นแต่คำสวยหรู จดจำง่าย อย่างเดียวยังไม่พอค่ะแต่ต้องสามารถยื่นจดทะเบียนกับ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ด้วยจึงจะสามารถวางจำหน่ายได้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในการที่จะตั้งชื่อแบรนด์ให้ถูกต้องตามหลัก อย. และเป็นที่ติดหูของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี วันนี้ Charmace จึงมีเทคนิคในการตั้งชื่อแบรนด์อย่างไรให้ถูกใจและถูกหลัก

ทำไมต้องตั้งชื่อแบรนด์ให้ถูกใจ อย. ?

เพราะในอดีตถึงปัจจุบัน มีการผลิตอาหารเสริมวางจำหน่ายกันมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นมีฤทธิ์ในการบำรุงรักษา หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวกต่อสุขภาพร่างกาย เสริมสุขภาพความงาม จนทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากหลงเชื่อ ซื้อมารับประทาน โดยไม่รู้ว่าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความเข้มงวดกวดขัน ในการควบคุมให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่ออกมาวางจำหน่าย มีคุณภาพและมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น ด้วยการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ขึ้นมา ซึ่งการจะขึ้นทะเบียนอาหารเสริมได้นั้น จะต้องทำตามกฎหมายนี้อย่างเคร่งครัดนั่นเองค่ะ

5 เทคนิคสำหรับการตั้งชื่อแบรนด์ให้ผ่าน อย. แบบฉลุย

การรู้ว่า ตั้งชื่อแบรนด์ยังไงให้ผ่าน อย. จะช่วยให้คุณย่นระยะเวลาการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนอาหารเสริมให้สั้นลง ช่วยให้สามารถได้ใบอนุญาตไว อันจะสามารถวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ทันที จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของอาหารเสริมทุกคนควรรู้ โดยเทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์ มีดังต่อไปนี้

1. ตั้งชื่อที่แปลโดย Dictionary แล้วไม่มีความหมาย

เมื่ออย. ไม่อนุญาต ให้ตั้งชื่อ ที่พอนำมาแปลแล้ว มีความหมาย ก็ควรพยายามประกอบคำขึ้นมาใหม่ ไม่ก็ตั้งชื่อที่แปลโดย Dictionary แล้วไม่มีความหมาย มาเป็นชื่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น TATINA , Mokonia , Valensia ฯลฯ

2. มีความหมาย แต่ไม่สื่อถึงสรรพคุณ

หากชื่อนั้น ๆ สามารถแปลความหมายได้ แต่ไม่สื่อถึงสรรพคุณใด ๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น ก็สามารถนำมาตั้งชื่อแบรนด์ได้ ตัวอย่างเข่น รอยัลเยลลี่ ถึงแม้ว่า รอยัล (Royal) จะแปลว่า เกี่ยวกับเจ้า ดีเลิศ เยี่ยม แต่เนื่องจากไม่สื่อถึงสรรพคุณใด ๆ ของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นนมผึ้ง ซึ่งผลิตจากผึ้งงานเพื่อใช้เป็นอาหารของนางพญาและตัวอ่อนของผึ้ง มีสรรพคุณ ช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ทำให้สามารถนำมาเป็นชื่อของอาหารเสริมได้

3. ชื่อบุคคล หรือ ชื่อบริษัท

สามารถนำเอาชื่อ ตัวย่อ ทั้งของบุคคลและบริษัท มาใช้ในการตั้งชื่อได้ โดยต้องไม่สื่อความหมายขัดต่อกฎเกณฑ์การตั้งชื่อเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • Collagen B โดยอธิบายว่า “B” มาจากชื่อเล่นของลูกค้าผู้จัดจำหน่าย โดยต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองกำกับว่า “ขอรับรองว่าชื่อ บี เป็นชื่อเล่นของข้าพเจ้านาย/นาง/นางสาว…………………………………………เอกสารนี้ใช้เพื่อยื่นขอ อย. ชื่อผลิตภัณฑ์ Collagen B เท่านั้น”
  • ZEN Collagen โดยอธิบายว่า “Z” ย่อมาจากชื่อบริษัท ZEN Biotech Co.,Ltd. โดยต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองบริษัท พร้อมเซ็นรับรอง
  • KB โดยอธิบายว่า “KB” มาจากอักษรในภาษาอังกฤษ

4.ไม่สื่อถึงผู้บริโภค

ต้องไม่มีคำใดคำหนึ่ง ที่สื่อถึงผู้บริโภค เช่น Young Man Woman Old ซึ่งอาจจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่า เป็นอาหารเสริมสำหรับช่วงวัยตนเอง จนคาดหวังว่า จะมีผลลัพธ์ต่อสุขภาพ เมื่อได้รับประทานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ทั้งนี้ หากเป็นชื่อที่สื่อถึง สรีระ  รูปร่าง  ผิวพรรณ  น้ำหนัก  การลด  การตัดทอน การเพิ่มขึ้น เพศ ก็ไม่ผ่านเช่นกัน

5.ไม่มีคำพ้องเสียงหรือคำที่มีเสียงคล้ายกัน

คำหรือชื่อของผลิตภัณฑ์ ต้องไม่พ้องเสียงกับคำภาษาอังกฤษที่มีความหมาย ที่อาจอวดอ้างถึงสรรพคุณ เช่น Slin มีเสียงคล้ายกับคำว่า Slim Klear พ้องเสียงกับคำว่า Clear โดยรวมถึงคำที่สะกดแล้วไม่มีความหมายใด ๆ แต่เมื่ออ่านแล้วพ้องเสียงหรือพ้องรูป ตรงกับคำอื่น ๆ ที่ อย. ไม่อนุญาตให้ใช้ เช่น W.H.I.T.E = อ้างอิงจากชื่อย่อบุคคล แต่เมื่อเขียนแล้วพ้องรูป กับคำว่า White ที่แปลว่า ขาว จึงไม่ผ่าน Refeat = ไม่มีความหมาย แต่พ้องเสียงแยกออกเป็น 2 คำ คือ Re = ย้อนกลับ , Feat = อ่านแล้วพ้องกับคำว่า Fit เมื่อรวมกันแล้ว เจ้าหน้าที่ อย. ตีความว่า “ย้อนกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง” จึงไม่ผ่านค่ะ

ท้ายที่สุด สรุปว่าสิ่งสำคัญของการตั้งชื่อแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ เจ้าของแบรนด์ต้องคำนึงถึงทั้งการตั้งชื่อ และการโฆษณา โดยต้องไม่กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง หรือสื่อความหมายว่า จะช่วยบำบัด รักษาโรค ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายได้ ตลอดจนมาตรฐานของสถานที่ผลิต หรือนำเข้าใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ก็ต้องระบุรายละเอียดเหล่านี้ให้ครบถ้วน และยื่นเรื่องให้ อย. พิจารณาและอนุญาตก่อน ถึงจะสามารถวางจำหน่ายได้นั่นเองค่ะ

บทความที่น่าสนใจ

รับผลิตอาหารเสริม สร้างแบรนด์อาหารเสริมของตัวเองง่ายๆ ครบทุกวงจร

สร้างจุดขายให้แบรนด์ กับ สารประกอบสุดฮิต ที่ตลาดต้องการ เพิ่มยอดขายหลายร้อยล้าน !!

ลิปสติก ทำมาจากอะไร ? มาทำความรู้จัก สารสกัดในลิปสติก กันค่ะ

บริการของเรา มุ่งเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ใส่ใจทุกกระบวนการการผลิตด้วยมาตรฐาน 

ปัจจุบันนี้มีธุรกิจหลายอย่างเกิดขึ้นอย่างมากมาย สำหรับการสร้างแบรนด์อาหารเสริม หรือการสร้างแบรนด์ครีม ในตอนนี้ ต้องยอมรับว่าตลาดความสวยความงามนั้นสามารถสร้างรายได้ต่อปีจำนวนมหาศาล ซึ่งในตอนนี้หลายคนก็ได้เริ่มหันมาผลิตอาหารเสริม หรือผลิตครีมมากมาย เราจะเห็นได้จากดาราที่หันมาทำธุรกิจอาหารเสริม หรือธุรกิจครีมกันเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าเขาไม่ได้สร้างโรงงานผลิตเองแน่นอน ทุกวันนี้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะมีผู้รับผลิตซึ่งเป็นโรงงานรับผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐานรองรับ

สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริม หรือสร้างแบรนด์ครีมของตัวเอง หรือผู้ที่อยากขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นขายครีมออนไลน์ ขายอาหารเสริมออนไลน์ สามารถปรึกษาข้อมูลได้ที่ บริษัท ชาร์แมซ ซี.เค. คอสเมด จำกัด โรงงาน รับผลิตอาหารเสริม รับผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก อาหารเสริมบำรุงผิว รับผลิตคอลลาเจน อาหารเสริมบำรุงสุขภาพทุกชนิด

มีทีมงานวิจัย ช่วยคิดค้นสูตร แกะสูตรและผลิตอาหารเสริม ให้ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมบริการขึ้นทะเบียนอาหาร ภายใต้แบรนด์ของลูกค้า บริการรับผลิตและออกแบบแพ็กเกจผลิตภัณฑ์สินค้า เหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างแบรนด์มีบริการหลังการขายที่จะให้คำปรึกษาทั้งด้านการผลิต และการตลาดอย่างมืออาชีพ